ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้
1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
- สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
- เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
- วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
- การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
- วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
ดังนั้น วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีจำเป็นต้องพึ่งพาความรู้ที่เป็นระบบ คือ ความรู้ที่ได้จากกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีระดับสูงที่ต้องอาศัยความรู้ขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ขณะเดียวกันความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ก็จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น